Principles and reasons:

สาหร่ายและแพลงก์ตอนเป็นแหล่งอาหารและเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สูง และมีปริมาณอยู่มากมายในธรรมชาติ มีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในชุมชน อุตสาหกรรมพื้นบ้าน รวมถึงอุตสหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอางค์ วัสดุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมยา เป็นต้น นอกจากนี้ด้วยรูปแบบการดำรงชีวิตที่เฉพาะเจาะจงดังนั้นในบางชนิดจึงสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สาหร่ายและแพลงก์ตอนถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสิ่งมีชีวิตพื้นฐานที่สำคัญของโลกใบนี้ที่สามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืนได้ การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนเป็นกิจกรรมหนึ่งของชมรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นสลับกับกิจกรรมการฝึกอบรม โดยระยะแรก เป็นการจัดประชุมกลุ่มย่อยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมประจำปีของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 จึงได้เริ่มจัดการประชุมครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า “การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ” และต่อมาได้มีการจัดการประชุมวิชาการเช่นนี้ขึ้นทุก ๆ 2 ปี สลับกับการจัดฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษา และนักวิจัยได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายและแพลงก์ตอนในทุก ๆ ด้าน ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเชิงวิชาการของบุคลากร และนำไปสู่การพัฒนางานด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอน

กิจกรรมการจัดประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ได้ดำเนินการมาแล้ว 10 ครั้ง โดยมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพ และในการประชุมครั้งหลังสุด ณ The Emerald Hotel กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2566 ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเจ้าภาพ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในครั้งนี้ได้กำหนด Theme ของการประชุมว่า “นวัตกรรมสาหร่ายและแพลงก์ตอนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” “Algae & Plankton Innovation for Sustainable Development Goals (SDGs)”

วัตถุประสงค์โครงการ:
1. เพื่อเป็นเวทีสำหรับการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยา นิเวศวิทยา การเพาะเลี้ยง และการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายและแพลงก์ตอน
2. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักวิจัยรุ่นใหม่ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจ อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในอันที่จะใช้ประโยชน์จากสาหร่ายและแพลงก์ตอนอย่างยั่งยืน
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพเชิงวิชาการของบุคลากรรุ่นใหม่ และนำไปสู่การพัฒนางานด้านสาหร่ายและแพลงก์ตอนให้ก้าวหน้าต่อไป
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกในกระบวนวิชาของภาควิชาชีววิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาแพทย์แผนไทย

Registration and submission schedule

Activity Schedule
Start registration/submit abstract/complete article(Proceedings)/pay registration fee January 2, 2025
Last day for submitting abstracts/full articles(Proceedings) February 28, 2025
Notification of consideration results March 20, 2025
Last day for submitting abstracts/complete articles(revised version) March 31, 2025
Last day for registration April 15, 2025

Registration fee payment rate

Payment of registration fee Teacher/Researcher/General Person Student
Pay the registration fee by February 28, 2025 3,000 Baht 2,000 Baht
Payment of registration fee after February 28, 2025 3,500 Baht 2,500 Baht
Expenses for traveling to see outside work (30 applicants up) 500 Baht 500 Baht

Payment method

ชื่อบัญชี “คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เลขที่บัญชี 375-3-25676-5
ธนาคารกรุงไทย สาขา แม่โจ้


หรือ Scan Qrcode

*เมื่อชำระเงินแล้ว โปรดส่งหลักฐานการชำระเงินเข้ามาในระบบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

สอบถามข้อมูลการชำระเงินได้ที่

นางสาวอรพรรณ พรหมใจ เบอร์โทร 053875112

หมายเหตุ : ทางผู้จัดงานจะออกใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน หลังจากได้รับแจ้งการโอนเงินผ่านระบบ ภายใน 3 วันทำการ
และจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้เท่านั้น(ไม่รวมค่าเดินทางไปดูงานนอกสถานที่)